วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทัศนศิลป์

                              ทัศนศิลป์



คำว่าทัศนศิลป์ใหม่ มิได้หมายความว่าเป็นทัศนศิลป์ในยุคนี้ สมัยนี้หรือปัจจุบัน และไม่ใช่ผลงานที่สร้างเสร็จใหม่ๆ เมื่อวานนี้ ทัศนศิลป์สมัยใหม่ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ได้ให้คำนิยามนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ เริ่มเกิดทัศนศิลป์หลายแนว ความคิด ศิลปินมีอิสระในการสร้างผลงานของตัวเองมากยิ่งขึ้น รูปแบบทางทัศนศิลป์วิวัฒนาการไปตามเหตุการณ์และกระแสของสังคม เราจึงเรียกทัศนศิลป์ที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษนี้ว่า ทัศนศิลป์สมัยใหม่

         พื้นฐานทางทัศนศิลป์มีรากฐานมั่นคงในสมัยฟื้นฟู ได้แพร่หลายออกจากประเทศอิตาลีสู่ประประเทศในยุโรปตะวันตก ทำให้ประเทศต่างๆ มีการเคลื่อนไหวในทัศนศิลป์มากขึ้น มีความคิดแสวงหาแนวทางทัศนศิลป์ใหม่ๆ ประกอบกับยุคนี้มีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลดีต่องวงการทัศนศิลป์สมัยใหม่มาก ศิลปินยุคใหม่ได้แยกศาสนาออกจากงานอย่างสิ้นเชิง ความเพ้อฝันในจินตนิยายเป็นเรื่องที่ล้าสมัยความศรัทธาทางวิทยาสาสตร์เริ่มเข้ามาแทนที่เทพเจ้า เป็นเรื่องที่ล้าสมัยความศรัทธาทางวิทยาสาสตร์เริ่มเข้ามาแทนที่เทพเจ้า แนวความคิดในการทำงานย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่องราวและรูปแบบเก่าๆ หมดสภาพลง กลับยึดถือเรื่องคุณค่าทางอุดมคติ ค่านิยมทางจริยธรรมและการชดใช้สังคม ศิลปินยุคใหม่เชื่อถือเหตุผลและหลักความเป็นจริง จึงแสดงภาพความเป็นจริงของสังคมในขณะที่ตนยังมีชีวิตอยู่ โดยสะท้อนความจริงนั้นๆ ให้ปรากฏ เกิดเป็นสุนทรียภาพทางด้านเรื่องราววัสดุและมิติต่างๆ ของเส้น สี รูปร่างรูปทรง หรืออาจเป็นการแสดงออกที่ไม่ใช่ความงามแต่เป็นความน่าขยะแขยง แทนก็ได้ ในการเปลี่ยนแปลงทางทัศนศิลป์ในสมัยนี้ ทำให้ศิลปินยุคใหม่มีแนวความคิด แตกต่างกันเป็นสองพวก โดยที่พวกหนึ่งต้องการประคับประคองแบบอย่างทัศนศิลป์โบราณให้มีคุณค่าคงอยู่ต่อไป อีกพวกหนึ่งต้องการแสวงหาวิธีใหม่ๆ อย่างเสรีภาพ เพื่อให้ทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ศิลปินจึงแยกเป็นกลุ่มๆ ตามความเชื่อของแต่ละลัทธิทัศนศิลป์สมัยใหม่ จึงเป็นการสร้างในแนวความคิดอิสระของศิลปินแต่ละกลุ่ม




ทัศนศิลป์ลัทธินีโอคลาสสิค ต้นศตวรรษที่ ๑๙ เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยเก่ากับสมัยใหม่ ศิลปินลัทธินี้เริ่มต้นที่ฝรั่งเศษ เลือกแนวทางการสร้างงานทัศนศิลป์ โดยนำรูปแบบคลาสสิคสมัยกรีกและโรมันมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยการนำเอา เรื่องราว และวิธีการมาใช้สะท้อนอารยะธรรมโบราณกับเรื่องราวความกล้าหาญ การเมืองและชีวิตในแต่ละวัน โดยมีรูปแบบในการสร้างงานทัศนศิลป์และศิลปินที่เกี่ยวข้องดังนี้

         จิตรกรรมเป็นรูปแบบสะท้อนเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ มีหลักการวาดเส้นระบายสีและการพิมพ์ภาพโลหะกัดกรดนูน โดยมีรูปแบบงาน ดังนี้
               1. แสดงรูปทรงธรรมชาติ เช่นคน สัตว์ ต้นไม้ และรูปทรงเลขาคณิต
               2. รูปแบบนิยมภาพ มีระยะใกล้ กลาง ไกล
               3. ฉากหลังเป็นสิ่งก่อสร้างแบบเสา อาคาร ของกรีก และโรมัน
               4. ฉากหลังบางครั้งใช้สีมืด เน้นหนักมากคือสีดำ น้ำตาล เขียว ขาว
               5. รูปแบบรูปธรรม คือมีตัวตนให้เห็นอยู่ว่าเป็นรูปทรงประเภทใด 
         
จิตรกรรมลัทธินีโอคลาสสิค   "การทำศึกระหว่างโรมันและชาวซาไบน์"
         สถาปัตยกรรม ในประเทศเยอรมัน หาดูได้จากงานออกแบบสถาปัตยกรรมของคาล์ลกอตทรีด ลังฮันส์ (อัศนีย์ ชูอรุณ และเฉลิมศรี ชูอรุณ,๒๕๒๘,๘๖)

 โรแมนติค เป็นลัทธิที่เน้นถึงการเร้าอารมณ์ ให้น่าตื่นเต้น โดยยึดถือในอารมณ์และจิตใจมากกว่าเหตุผล ทัศนศิลป์กลุ่มนี้จึงมีความเคลื่อนไหวต่อจากกลุ่มนีโอคลาสสิค โดยเริ่มที่ฝรั่งเศส คำว่า โรแมนติค ในกลุ่มนี้มีความหมายแตกต่างไปจากคำว่า ความรัก หรือกามารมณ์ แต่มีความหมายในการแสดงออกเกินความเป็นจริง ของอารมณ์รุนแรงเกี่ยวกับความสยดสยอง และสะเทือนใจจะแสดงออกเกี่ยวกับการปฏิวัติที่บรรยายเหตุการณ์ในฝรั่งเศส หรือเหตุการณ์อื่นๆ ดังรูปแบงานทัศนศิลป์ และศิลปินผู้สร้างคือ

         จิตรกรรม นิยมเรื่องราวนอกประเทศ เรื่องผจญภัย ตื่นเต้นระทึกใจ แสดงรูปแบบใหม่ มากกว่ายึดถือของกรีกโบราณ
               1. การพิมพ์ภาพ จะแสดงเรื่องราวน่ากลัวของสงครามชาวสเปนต ่อฝรั่งเศส

         สาเหตุในการสร้างงานทัศนศิลป์ลัทธิโรแมนติค ได้แก่
               1. ด้านจิตใจ ระหว่างผู้ดูกับผู้สร้าง ต้องรับรู้ในเนื้อหาที่แสดงออกด้วยเหตุผล
              2. ความเชื่อ   เรื่องความสะเทือนใจของอารมณ์อันรุนแรง   และความรู้สึกต่อสิ่งเลวร้าย ดั้งนั้นงานจิตรกรรมจึงต้องมีอารมณ์มากกว่าเหตุผล
               3. เชื่อว่าความรู้สึกส่วนตัวของศิลปินอารมณ์ผู้สร้างแสดงออกเพื่อให้ผู้ดูคล้ายตามได้

         สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์ลัทธิโรแมนติค คือ
               1. แสดงรูปทรงธรรมชาติและเรขาคณิต
               2. เลิกใช้ภาพแบบประวัติ ศาสนา นิยายโบราณ จะเป็นแบบสากล
              3. เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ในยุคกลาง   แสดงความรุนแรง ยุ่งเหยิงถ่ายทอดทฤษฎีเหมือนจริง
              4. ผลงานมีคุณค่าต้องเป็นเรื่องจริง  ตื่นเต้น   หรือเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ความหิวโหย ฆาตกรรม
               5. รูปแบบเป็นแบบรูปธรรม มีตัวตนให้มองเห็นถึงรูปทรงต่างๆ

         ศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุคโรแมนติค ได้แก่
               1. เจอริไคท์ ค.ศ. ๑๗๑๙-๑๘๒๕ จิตรกรชาวฝรั่งเศสเป็นผู้นำกลุ่มที่ชอบสร้างสรรค์งานที่น่ากลัวและตื่นเต้น ผลงานที่มีชื่อ คือ แพมดูซ่า เป็นภาพเหตุการณ์อันหน้าเศร้าสลดเมื่อเรือฟริเกตของชาวฝรั่งเศสเกิดอับปาง ผู้โดยสารอยู่ในแพล่องลอยในทะเลอยู่สามเดือน อดน้ำและอาหารมีผู้รอดชีวิตสิบห้าคน
               2. เดราคัว ค.ศ. ๑๗๙๘-๑๘๖๓ เขียนภาพแสดงความตื่นเต้นเช่น ภาพประหาร ทิซิโอ ภาประหารของซาร์ดานาบาล แสดงความเหี้ยมโหดของพวก
เตอร์ก ภาพการฉุดคร่านางรีเบคก้า และภาพมรณกรรมของซาร์ดาร์นาปาลุส เป็นต้น

จิตกรรมลัทธิโรแมนติค 
"มรณกรรมของซาร์ดานาปาลุส" 
ผลงานโดย เดราคัว

จิตรกรรมลัทธิโรแมนติค "แพเมดูซ่า" 
ผลงานโดย เจอริไคท์

  ทัศนศิลป์ลัทธิเรียลิสม์ ศิลปินกลุ่มนี้มีความเห็นว่า การที่จะวาดสิ่งใดก็ตาม ต้องเคยเห็นสิ่งนั้นมาก่อน การสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าต้องเกิดจากการมองเห็นของศิลปินในแต่ละวัน มนุษย์ทำงานมีกิเลส ความอยาก มีดีมีเลวในสังคม ดั้งนั้น เหตุการณ์เหล่านี้ศิลปินต้องสัมผัสพบเห็น แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นทัศนศิลป์ให้ละเอียดและเหมือนกับสิ่งที่ตนมองเห็น ดังนี้

         งานจิตรกรรม จะแสดงออกที่เกี่ยวกับเรื่องความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ไม่แสดงออกด้วยความเพ้อฝันหรือหนีความจริง เรื่องราวเกี่ยวกับความอดอยาก และความน่าเกลียด

         สาเหตุการสร้างงานทัศนศิลป์ลัทธิเรียลิสม์ ได้แก่
               1 ตอบสนองด้านจิตใจของผู้ชมและผู้สร้าง
               2 ความเชื่อว่าศิลปะต้องเกิดจากความเป็นจริงทางเรื่องราวในชีวิตประจำวันและเหมือนเรื่องราวจากธรรมชาติ
               3 เชื่อว่าทัศนศิลป์ให้ประโยชน์ต่อสังคม ปลุกละดมให้ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพ

         สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์ลัทธิเรียลิสม์ คือ
               1 แสดงรูปทรงธรรมชาติ และเรขาคณิต เหมือนจริงตามที่ตามองเห็น
               2 ศิลปินกลุ่มนี้ชอบวาดภาพเป็นจนๆ และคนชั้นต่ำ
               3 ชอบวาดภาพล้อเลียนสังคม แสดงรูปทรงและโครงสร้างของสีรูปทรง และแสดงพื้นผิวเรียบให้สมจริง
               4 เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน เช่น การทำสงคราม การประกอบอาชีพต่างๆ
               5 รูปแบบรูปธรรม มีตัวตนให้มองเห็นว่ามีรูปทรงประเภทใด

         ศิลปินที่มีชื่อเสียงของลัทธิเรียลิสม์ ได้แก่
               1 คัวเบท์ ค.ศ. ๑๘๑๗-๑๘๗๗ จิตรกรชาวฝรั่งเศส ผู้นำกลุ่มโดยเข้ากับพวกปฏิวัติในฝรั่งเศส วาดภาพเยอะเย้ย ล้อเลียนชนชั้นสูง และนักปกครอง
ต่อมาถูกเนรเทศออกจากฝรั่งเศส ผลงานได้ แก่ ภาพการฝังศพที่ออร์นอง(แสดงความรู้สึกในภาพคน และสัตว์ สีหน้าเฉยเมยที่มางานศพ) และภาพการเดินเล่นที่ริมแม่น้ำเชน
               2 โดเม ค.ศ ๑๘๐๘-๑๘๙๗ จิตรกรชาวฝรั่งเศสที่อยู่ระหว่างแนวความเชื่อในการสร้างผลงานโรแมนติค กับลัทธิเรียลิสม์ โดยแสดงเรื่องราวเสียดสีการทำงานของรัฐบาล จนถูกจำคุกหลายครั้ง ผลงานได้แก่ ภาพถนนรองโซแนง ภาพทหารแลละตำรวจปราบปฏิวัติอย่างทารุณ
               3 มาเนท์ ค.ศ. ๑๘๒๒-๑๘๘๓ จิตรกรชาวฝรั่วเศสที่ไม่นิยมวาดภาพเกี่ยวกับการเมือง แต่แสดงชีวิตธรรมดาของชนทุกชั้น ผลงานได้แก่ ภาพร้านกาแฟเล็กๆ ภาพการเต้นรำของสามันชนทั่วๆไป
               4. โก่ย่า ค.ศ. ๑๗๔๖-๑๘๒๘ จิตรกรชาวสเปน ซึ่งอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างลัทธิโรแมนติคกับลัทธิเรียลิสม์ โดยเขาชอบวาดภาพน่าเกลียด น่ากลัว แสดงการทรมาน เช่น
                    (1) ภาพการประหารกบฏสเปน โดยชาวฝรั่งเศส
                    (2) ภาพคนถูกแขวนคอ
                    (3) ภาพคนบ้า และหญิงชราที่น่าเกลียดน่ากลัว
                    (4) ภาพฆ่าฟันในสงคราม และวัวกระทิงถูกแทง
                    (5) รูปภาพมายาแต่งกาย
                    (6) รูปภาพมายาเปลือยกาย            
จิตรกรรมลัทธิเรียลิสม์ "การประหารกบฏสเปน"
ผลงานโดย โกย่า


 คำว่า อิมเพชรชั่นนิสม์ รัฐ จันทร์เดช (๒๕๒๒,๕๓) ได้ให้ความหมายว่า ความรู้สึกประทับใจของมนุษย์จากสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งเร้าใจ คำนี้เพิ่งจะมีผู้ยอมรับและเห็นด้วยว่า มีความหมายแจ่มแจ้งก็ต่อเมื่อ มาเนท์ แสดงผลงานกับพวก ๓๐ คน ครั้งแรกในปี ๑๘๔๗ โดยเฉพาะภาพเขียนของมาเนท์ ที่ชื่อว่า ดวงอาทิตย์ขึ้น ให้ความหมายชัดเจนที่สุด
           วิวัฒนาการของทัศนศิลป์กลุ่มนี้ เนื่องจากเบื่อหน่ายต่อการเลียนแบบกรีกโรมัน และกลุ่มเรียลิสม์ที่เขียนในสิ่งที่เหมือนจริง ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทางจิตวิทยา จนการค้นคว้าเรื่องสีสำเร็จ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินกลุ่มนี้ใช้สี และแสงเงาอย่างอิสระ ส่วนเรื่องราวนิยมวาด เกี่ยวกับมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นแล้วเกิดความประทับใจ ละทิ้งเรื่องราวทางศาสนาและนิยายโบราณ ศิลปินในลัทธินี้ริเริ่มออกไปวาดนอกสถานที่เพื่อให้เรื่องสี และแสงเงา ในขณะนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นในแนวทางทัศนศิลป์สากลในเวลาต่อมา

          สาเหตุการสร้างงานทัศนศิลป์ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์
                1. สนองจิตใจของผู้สร้างและผู้ชมในขณะนั้น
                2.ความเชื่อเรื่องความประทับใจ ต่อสิ่งที่ได้พบเห็นจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 สุนทรียภาพและรูปแบบงานจิตรกรรมลัทั่นนิสม์
                1. แสดงรูปทรงธรรมชาติและเรขาคณิตธิอิมเพรสช สี แสงเงา เส้น และจุด
                2. เรื่องราวเกิดจากความประทับใจในธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมไม่แสดงเรื่องนิยายโบราณ และศาสนาประจำชาติใดชาติหนึ่ง
                3. วาดภาพอย่างอิสระตามความรู้สึกของศิลปินที่ประทับใจในสิ่งที่ตนเองเห็นและผู้ชมทั่วไป เข้าใจภาพได้เพราะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เหมือนๆ กัน
                4. ใช้แสง เงา และสี อย่างจริงจัง เพราะว่านอกสถานที่
                5. บางครั้งใช้ฝีแปลงหยาบๆ เป็นรอยแปลงให้แสงผสมกับสี มองดูใกล้และจะเป็นภาพไม่สวย ถ้ามองดูไกล จะเห็นรูปทรงและเรื่องราวของภาพชัดเจน
                6. ระยะหลังระบายสี ด้วยการขีดเป็นเส้น และจุดสีเล็กๆ แสดงแสงและเงาให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น หนา บางเกิดมิติ เรียกว่า กลุ่มโพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์
                7. รูปแบบเป็นรูปธรรมมีตัวตน สามารถมองเห็นรูปทรงแต่ละประประเภทได้

         ศิลปินที่มีชื่อ
                1. มาเนท์ ค.ศ. ๑๘๒๒-๑๘๘๓ จิตรกรรมชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อในการพัฒนารูปแบบระยะแรงงานของมาเนท์มีอิทธิพลของคัวเบท์และโกย่า แต่ภายหลังได้หันมาสนใจแสดงความรู้สึกประทับใจจนกลายเป็นผู้ริเริ่มกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์ ผลงานที่มีชื่อเสียงมีอยู่มาก เช่น ภาพโอลิมเปีย ผู้หญิงเปลือยกายท่านอน
                2. มอเนท์ (Monet) ค.ศ. 1840 – 1962 ได้คลุกคลีอยู่กับมาเนท์ และภาพดวงอาทิตย์ของเขาก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่แสดงความรู้สึกประทับใจได้ดีในเรื่องสีแสงเงา ตรงกับความหวายของอิมเพรสชั่นนิสม์มาก เพราะคำว่า Impressionism หมายถึง ความรู้สึกประทับใจของมนุษย์จากสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งเร้าใจ
                3.ปิซาโร (Pissaro) ค.ศ. 1830 – 1903 จิตรกรอาวุโสแสดงความประทับใจของภาพได้นุ่มนวลในแสงสีชอบวาดถนนรอบ ๆ กรุงปารีส
                4. ซิลลี่ (Sisley) ค.ศ. 1839 – 1899 จิตรกรที่วาดภาพแบบอิมเพรสชั่นนิสม์อย่างแท้จริงมากกว่ามาเนท์ และมอเนท์ ผลงานแสดงรอยแปรงที่รวดเร็วและแน่นนอน เต็มไปด้วยอารมณ์ของผู้สร้างในความประทับใจ
                5. เดอกาส์ (Degas) ค.ศ. 1834 – 1917 จิตรกรผู้มีฐานะดีภาพแสดงความประทับใจในทันทีทันใดเก็บความละเอียดในภาพ เป็นจิตรกรฝีมือสูง
                6. เรอนัวร์ (Renoir) ค.ศ. 1814 – 1919 จิตรกรชาวฝรั่งเศสที่ชอบสนุก วาดภาพเกี่ยวกับผู้หญิงไว้มาก โดยถ่ายทอดความเป็นผู้หญิงไว้ในภาพ เช่น มีความอาย ความนุ่มนวล ความหวาดกลัว และเป็นภาพวาดกลางแจ้งในสวนดอกไม้ อีกหลายภาพ


จิตกรรมลัทธิอิมเพรสชั่นนิส "คนอาบนำ้"
ผลงาน โดย เรอนัวร์


 สุนทรียภาพและรูปแบบงานประติมากรรม พบเห็นในกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์โดยมีศิลปินดังนี้

                1. เดอการ์ (Degas) ค.ศ. 1834 – 1917 เป็นทั้งจิตรกรและประติมากร ผลงานแสดงตามแนวอิมเพรสชั่นนิสม์อย่างแท้จริง โดยแสดงความรู้สึกประทับใจให้มากและแสดงส่วนละเอียดชัดเจนแบบคลาสสิคกรีก
               2. โรแดง (Rodin) ค.ศ. 1840 – 1917 เป็นประติมากรอย่างแท้จริง ในศตวรรษที่ 19 ลักษณะการปั้นแสดงส่วนละเอียดและความรู้สึกประทับใจ บางครั้งทิ้งร่องรอยของเทคนิคในการปั้นไว้ผลงานที่มีชื่อได้แก่ รูปการจูบ แสดงท่าทางของหญิงชายในภาพ ถึงความรู้สึกรักใคร่อย่างสุดซึ้ง และรูปนักคิด
               3. เรอนัวร์ (Renoir) ค.ศ. 1814 – 1919 เป็นทั้งจิตรกรและประติมากรผลงาน ได้แก่ รูปหญิงสาวซักผ้าและชัยชนะของวีนัส สร้างในขณะที่ขาทั้งสองข้างเดินไม่ได้

ประติมากรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ "จูบ (The kiss)"
ผลงาน  โดย โรแดง (Rodin)

                นอกจากนี้ยังมีศิลปินกลุ่มโพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ (Post – Impressionism) ที่ยึดรูปแบบการสร้างงานแนวทางใหม่ สืบเนื่องมาจากทัศน์ศิลป์แบบอิมเพรสชั่นนิสม์อยู่ตัว ไม่มีวิวัฒนาการสิ่งใดเพิ่มมีกลุ่มศิลลปินที่แสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เกิดขึ้นในราวปลายศตวรรษที่ 19 โดยศิลปินกลุ่มนี้ได้เพิ่มองค์ประกอบของภาพเข้าไปในแสงและสี เพราะความเชื่อที่ว่ารูปทรงของสิ่งต่าง ๆ ในโลก มีความสำคัญต่อมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์เข้าใจรูปทรงจึงตัดทอนรูปทรงออกเป็นบางส่วน มนุษย์จะได้สร้างสรรค์รูปทรงขึ้นมาแทนเอง จิตรกรกลุ่มนี้ที่สำคัญมี 3 คน นับว่าเป็นแนวทางไปสู่ทัศนศิลป์สมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20 มี ดังนี้

                1. โกแกง (Gauguin) ค.ศ. 1848 – 1903 เกิดที่ปารีส เคยอาศัยกับแวนก๊อก เพื่อสร้างงานจิตรกรรม เมื่อแวนก๊อกฆ่าตัวตาย เขาได้เดินทางไปอาศัยยังเกาะตาฮิติจนถึงแก่กรรม ผลงานจิตรกรรมของโกแกง จะเป็นภาพพริมิติฟ (Primitive) มีลักษณะเส้นประสานแบบง่าย ๆ มีความกลมกลืนของสี ประสานความงามในรูปทรง ไม่มีเงาอ่อนแก่ ทำให้ภาพสะอาดดูสบายตา ได้แก่ ภาพหญิงเบรตันย์สวมผ้าภาพทิวทัศน์เมืองตาฮิติ ภาพหญิงสาวบนชายหาด เป็นต้น
                2. แวนก๊อก (vangogh) ค.ศ. 1853 – 1890 เกิดที่ประเทศฮอลแลนด์ เริ่มวาดภาพโดยตกลงใจจะรับใช้มนุษยชาติด้วยงานจิตรกรรม ในปี ค.ศ. 1888 เขาเริ่มเบื่อหน่ายการวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ที่อาศัยแสงสว่างและเงา จึงเดนทางไปวาดภาพที่ฝรั่งเศสกับโกแกง ต่อมาสุขภาพไม่ค่อยยดีคิดมาก อารมณ์รุนแรงคุมสติไม่ได้ยิงตัวตาย ผลงานจิตรกรรมจะมีการใช้สีเป็นลายหนาสีฉูดฉาดอาจแต้มเป็นจุด ๆ บางส่วนทิ้งรอยแปลงไว้ในภาพ เช่น ภาพชาวบ้านฮอลันดา ภาพบุรษไปรษณีย์รูแลง ภาพต้นโอ๊คสีเขียว ภาพดอกทานตะวัน ภาพถนนต้นไซเปรสและภาพเหมือน ดร.กาเซต์ ฯลฯ เป็น
                3. เซซาน (Cizanne) ค.ศ. 1839 – 1906 เกิดที่ประเทศฝรั่งเศส เริ่มวาดภาพแบบรูปทรงวิเคราะห์ที่ต่างจากลัทธอิมเพรสชั่นนิสม์ เซซานจะวาดภาพลักษณะตัดทอนรูปร่างและรูปทรงต่างๆ จนพวกลัทธิคิวบิสม์ดำเนินรอยตาม และเป็นแนวทางของงานจิตรกรรมสมัยใหม่จนถึงทุกวันนี้ ผลงานของเซซาน ได้แก่ ภาพภูเขาแซงวิกตัวร์ ภาพหุ่นนิ่งด้วยแอปเปิล ภาพคนเล่นไพ่ และภาพคนอาบน้ำกลุ่มใหญ่

จิตกรรมอิมเพรสชั่นนิสม
ภาพเหมือน ดร.กาเซต์"
โดย แวนก๊อก (vangogh)

จิตรกรรมโพสต์อิมเพรสชั่น "คนอาบน้ำ"
ผลงานโดย เซซาน

ทัศนศิลป์ลัทธิคิวบิสม์ (Cubism Visual Art) เป็นลัทธิที่ปฏิรูปทัศนศิลป์ให้แตกต่างจากสิ่งที่เคยมีมา จากคำพูดของเซซานที่ว่า ถ้าจะเข้าใจรูปทรงภายนอก จงมองรูปทรงเหล่านั้นเป็นเหลี่ยมเป็นลูกบาศก์ง่าย ๆ คำกล่าวและการกระทำของเซซาน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดสร้างสรรค์งานเกี่ยวกับรูปทรงใหม่ในกลุ่มนี้ ผู้ที่ริเริ่มนำแนวความคิดนี้มาใช้ในงานจิตรกรรมอย่างจริงจัง คือ ปิคัสโซ (Picasso) และบร๊าค (Braque)
         สุนทรีภาพและรูปแบบงานจิตรกรรมลัทธิคิวบิสม์ ได้แก่
               1. ส่วนใหญ่เป็นรูปทรงเรขาคณิต
               2. เป็นภาพที่เกิดจากการตัดทอน
               3. รูปทรงส่วนใหญ่เป็นแบบเรขาคณิต เป็นลูกบาศก์ จึงเป็นชื่อของคิวบิสม์
               4. แสดงเรื่องราวของชีวิตยุ่งเหยิงด้วย รูปทรง สี และรูปร่าง
               5. แสดงมิติ ด้วยรูปทรง ขนาด การซ้อนกัน บังกัน โปร่งใส คล้ายภาพเอกซเรย์
               6. รูปแบบกึ่งนามธรรม คือ มีตัวตนและไม่มีตัวตนให้ชัดเจน

         สาเหตุการสร้างงานทัศนศิลป์ลัทธิคิวบิสม์ คือ
             1. ตอบสนองด้านจิตใจและอารมณ์  ของผู้สร้างและผู้ชมโดยเปิดโอกาสให้ผู้ชมคิดอย่างเสรีภาพและใช้ปัณณาพินิจพิจารณาด้วยตนเอง
               2. เชื่อในสิ่งที่เห็นทุกอย่างของรูปทรงสามารถมองได้หลายๆด้านเป็นเหลี่ยมปริมาตร

         ศิลปินกลุ่มคิวบิสม์มีอยู่มากมาย แต่จะกล่าวเพียง 2 คน เพราะมีผลงานเป็นเครื่องยืนยันมากว่าผู้อื่น
               1. ปิคัสโซ (Picasso) ค.ศ. 1881 – 1973 เป็นผู้นำกลุ่มชาวสเปนที่ได้แนวทางจากกลุ่มโพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ จึงได้นำมาปรับปรุงตัดทอนจนได้แนวความคิดที่ว่า จงมองสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นเหลี่ยมหรือลูกบาศก์
               2. บร๊าค (Braque) จิตรกรชาวฝรั่งเศส รู้จักปิคัสโซ ปี ค.ศ. 1908 และเริ่มต้นศิลปะในแนวทางเดียวกันกับปิคัสโซ

จิตรกรรมคิวบิสม์ "สุภาพสตรีแห่งเมืองอาวิญง"
ผลงานโดย ปีคัสโซ
 ทัศนศิลป์แอบสแตรก (Abstract Visual Art) เป็นกลุ่มทัศนศิลป์หนึ่งในศตวรรษที่ 20 ตรงกับภาษาว่า นามธรรม เป็นทัศนศิลป์แบบใช้ความนึกคิด มีแต่องค์ประกอบของเส้น สี รูปร่าง พื้นผิว ส่วนรูปทรงถูกตัดทอนเหลือแกนแท้ของโครงสร้างเท่านั้น แบบอย่างที่นำมาของศิลปินกลุ่มนี้ ได้แก่ โครงสร้างของงาน เซซาน ที่ใช้สีสันเป็นอิสระและของแวนก๊อก ที่แสดงงรูปทรงอันบิดเบี้ยวในการให้เส้นพร้อมกับงานของโกแกง สุดท้ายเป็นการสังเคราะห์รูปทรงและสี ในงานกลุ่มคิวบิสม์ของปิกัสโซ ที่ลดสกัดตัดทอนรูปทรงจากสิ่งที่มองเห็น
         สุนทรียภาพและรูปแบบของงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์ลัทธิแอบสแตรก ได้แก่
               1. แสดงรูปร่างมากกว่ารูปทรง ส่วนใหญ่จะเป็นรูปร่างอิสระ เป็นรูปทรงไม่แน่นอนมองมรู้เรื่อง ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าเป็นผลงานของชาติใดเป็นแบบสากล
               2. คำนึงถึงเส้น และสีเฉย ๆ ไม่แสดงเรื่องราวแน่ชัด การถ่ายทอดทางการรับรู้
               3. เรื่องราวใช้สี เส้น รูปร่าง แทนความรู้สึกของศิลปินเอง ไม่คำนึงถึงผู้ดู
               4. ตัดทอนสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรูปร่างหรือรูปทรงง่าย ๆ เหลือเพียงโครงสร้างแท้หรือโครงสร้างภายในและภายนอก
               5. รูปที่นำมาแสดงไม่ใช่เรื่องราวที่แน่นอน เป็นเพียงสื่อให้ผู้ดูคิดเท่านั้น
               6. รูปแบบนามธรรม คือ ไม่มีตัวตนให้เห็นว่าเป็นรูปทรงอะไร ประเภทใด
                
สุนทรียภาพและรูปแบบงานประตมากรรมลัทธิแอบสแตรก
               1 ใช้รูปทรงอิสระ เป็นลักษณะสากลที่ไม่บ่งบอกว่าเป็นผลงานของชาติใด
               2 ถ่ายทอดทางการรับรู้ เรื่องพื้นผิวของงานตามถนัดและความต้องการของศิลปิน
               3 เรื่องราวรูปทรง คือ สื่อให้ผู้ดูคิดอย่างอิสระจะคิดอย่างไรก็ได้ตามเหตุผลที่จะคิดถูกหรือผิดไม่ใช่เครื่องชี้วิด

          สาเหตุการสร้างงานทัศนศิลป์ลัทธิแอบสแตรก ได้แก่
               1. สนองด้านจิตใจ คือ ความงาม มากกว่าเรื่องราว
               2. ความเชื่อในความรู้สึกของผู้สร้างเป็นใหญ่มากกว่าผู้ชมและส่งเสริมให้ผู้ชมรู้จักคิดเมื่อชมงานทัศน์ศิลป์
ภาพจิตกรรมสมัยแอบสแตรก "แผนดีดำ" โดย แคนดินสกี้

          ศิลปินที่มีชื่อในลัทธิแอบสแตรก ซึ่งเป็นรูปแบบที่เข้าสู่ยุคทัศนศิลป์สมัยใหม่อย่างแท้จริงมีดังนี้
                1. แคนดินสกี้ (Kandinsky) ค.ศ. 1866 จิตรกรชาวรัสเซียผู้นำกลุ่มก่อนที่จะมาทำงานในแนวนี้เคยทำงานตามแนวความเชื่อกลุ่มเอ็กซเพรสชั่นนิสม์มาก่อน
                2. มองดีออง (Mondrian) ค.ศ 1872 จิตรกรชาวฮอลแลนด์
                3. วิลอง (Villon) ชาวฝรั่งเศสนิยมวาดรูปแบคิวบิสม์ผสมแอบสแตรก
  ทัศนศิลป์ลัทธิเซอเรียลิสม์ (Surrealism Visual Art) เป็นการแสดงออกอย่างเสรีของจิตไร้สำนึกอย่างแท้จริง ปราศจากสติควบคุมศิลปินกลุ่มนี้พยายามสร้างทัศนศิลป์จากความฝันและความรู้สึกภายในที่แสดงออกภายใต้อิทธิพลของจิตไร้สำนึก มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึก มีความคิดความฝันต่าง ๆ ซึ่งเก็บซ่อนอยู่ภายยใต้จิตโดยมนุษย์ไม่รู้สึกตัว ถ้าแสดงออกมามนุษย์ก็จะรับรู้ได้ทันทีถึงความฝฝันนั้น ๆ ว่าจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
                ทัศนศิลป์เป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สำรวจสิ่งซ่อนเร้นที่อยู่ภายในตัวมนุษย์ ผู้นำกลุ่มคือ องเดร บรูตอง (Andre Breton) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส เชื่อที่มีความว่า จินตนาการเป็นส่วนประกอบสำคัญในการแสดงออกและจินตนาการนี้ก็คือ จิตไร้สำนึก ที่ช่วยนำไปสู่ความสร้างสสค์งานทัศนศิลป์
         สาเหตุการสร้างงานทัศนศิงป์ลัทธิเซอเรียลิสม์ ได้แก่
              1. ตอบสนองด้านจิตใจ เรื่องความงาม   เส้น   สี  รูปทรง และความรู้สึกของผู้สร้างที่อยู่ภายใต้จิตไร้สำนึกที่แสดงออกมาให้ผู้ชมได้รับรู้
               2. ความเชื่อ สำนึกของคนเรายังเห็นว่า ความฝัน คือ ความบริสุทธิ์ ความป่าเถื่อนยังหลบอยู่ในจิตใจของมนุษย์ และจิตใต้สำนึกนี้จะระเบิดออกมาได้ทุกขณะ ถ้าปราศจากการควบคุม
         สุนทรียภาพและรูปแบบงานจิตรกรรมลัทธิเซอเรียลิสม์ คือ
               1. รูปแบบกึ่งนามธรรม คือ มีตัวตน และไม่มีตัวตน
               2. เป็นเรื่องราวในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความรัก ความหยิ่งผยอง ความกลัว
               3. เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับจินตนาการของศิลปินเอง
               4. เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบบัน ด้านเวลา อายุ ความเน่าเปื่อย
               5. แสดงรูปทรง ธรรมชาติ เรขาคณิต อิสระ ที่บิด ๆ เบี้ยว ๆ
จิตรกรรมลัทธิเซอเรียลิสม์
"ลางสังหรณ์แห่งสงครามกลางเมือง"
ผลงาน โดย ดาลี


   ศิลปินที่มีชื่อในลัทธิเซอเรียลิสม์ มีดังนี้

               1. ดาลี (Dali) ค.ศ. 1904 จิตรกรชาวสเปน ผลงาน เช่น ภาพความทรงจำที่ไม่เคยลืม (นาฬิกาเหลว) และลางสังหรณ์แห่งสงครามกลางเมือง ฯลฯ

               2. ชากาล (Chagall) ค.ศ. 1889 จิตรกรชาวรัสเซีย ผลงาน เช่น ภาพวันเกิด และภาพจิตรกรกับนิ้วเจ็ดนิ้ว

               3. แอนส์ (Ernst) ค.ศ. 1891 จิตรกรชาวเยอรมัน ผลงาน ภาพช้างมหัศจรรย์

               4. มีโร (Miro) ค.ศ. 1893 จิตรกรชาวฝรั่งเศส ผลงานภาพ คน สุนัข และดวงอาทิตย์
               5. จิอาโคเมตติ (Giacometti) ค.ศ. 1901 – 1966 ประติมากรชาวสวิตเซอร์แลนด์ ผลงาน รูปรถม้า รูปคน รูปพระราชวังตอนเช้า เวลา 10.00 น.

ประติมากรรมเซอเรียลิสม์ "รถม้า"
ผลงานโดย จิอาโคเมตติ
               สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นวิวัฒนาการของทัศนศิลป์ แต่ละกลุ่มที่สำคัญ ๆ โดยสังเขปจากสาเหตุความเชื่อและอิทธิพลที่ทำให้รูกแบบทัศนศิลป์แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีทัศนศิลป์สมัยใหม่อีกหลายกลุ่มที่มีแนวความคิดเคลื่อนไหวตามความเชื่อ และสาเหตุของการสร้างในแต่ละกลุ่ม เช่น
             
         
กลุ่มโฟวิสม์ (Fouvism) เชื่อความป่าเถื่อน ยุคสัตว์ป่า แสดงความรุนแรงของสังคม
             
         กลุ่มดาดา (Dada) เชื่อความดีชนะความเลว ความชั่วชนะความดีจึงแสดงออกต่อต้านสงครามและความงาม เรียกว่า ต่อต้านทุกสิ่ง
               
         กลุ่มสปรีมาติสม์ (Suprematism) 
เชื่อทุกสิ่งทุกอย่างจะหายไปเป็นความบริสุทธิ์แสดงออกด้วยรูปสี่เหลี่ยม วงกลม เกิดความเคลื่อนไหว
              
         กลุ่มปออาร์ต (Pop Art)
 เชื่อสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและขณะนี้มีคุณค่าในเวลาหนึ่ง เช่น ดารายอดนิยม เพลงยอดนิยม คำขวัญ สินค้าเลอเลิศ ฯลฯ รูปแบบแสดงออกแบบสัพเพเหระทั่วไปในชีวิตปัจจุบัน
           
         
กลุ่มออปอาร์ต (Op Art) เชื่อว่าด้วยสายตามีความสำคัญกว่าสิ่งอื่นเสมอการแสดงออกด้วยรูปร่าง เส้น สี แสง มองดูให้เกิดมิติเคลื่อนไหว หรือ ลึก และประทับใจในสีสันนั้น ๆ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น